ชาวเกอตูร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน

(VOVworld)-ถึงแม้ในกระบวนการพัฒนาของยุคสมัย เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือจางหายไปบ้างแต่สำหรับชาวชนเผ่าเกอตูจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์เอกลักษณ์เฉพาะของวัฒนธรรมพื้นบ้านได้รับการส่งเสริมอย่างเข้มแข็ง....

(VOVworld)-ถึงแม้ในกระบวนการพัฒนาของยุคสมัย เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นบ้านอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงหรือจางหายไปบ้างแต่สำหรับชาวชนเผ่าเกอตูจิตสำนึกในการร่วมกันอนุรักษ์เอกลักษณ์เฉพาะของวัฒนธรรมพื้นบ้านได้รับการส่งเสริมอย่างเข้มแข็งและสะท้อนให้เห็นผ่านกิจกรรมประจำวันไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีพื้นบ้าน การจัดงานเทศกาลต่างๆโดยเฉพาะการฝึกและสอนให้ชนรุ่นใหม่รู้จักวัฒนธรรมดั้งเดิมเพื่อสืบสานต่อไป
ชาวเกอตูร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน - ảnh 1
ห้องเรียนระบำพื้นเมืองตุงตุงยาย้า
นี่คือบรรยากาศในห้องเรียนระบำพื้นเมืองตุงตุงยาย้าของชนเผ่าเกอตู ช่วงนี้ยังไม่เปิดเทอมดังนั้น นางบลิง ทิ เซียก ได้สงวนเวลาหลังการทำนาเพื่อสอนเด็กๆในหมู่บ้านเบอห่ง ต.ซงกน อ.ดงยาง จ.กว๋างนาม รู้จักการรำตุงตุงยาย้าพวกเราได้เรียนรู้เทคนิกการฟ้อนรำจากคุณย่าคุณยายและคุณแม่ เดี๋ยวนี้ก็สอนให้ลูกหลานเพื่อให้ชนรุ่นใหม่เข้าใจวัฒนธรรมพื้นบ้านและสืบสานต่อไป เด็กๆก็ตั้งใจเรียนไม่มีการหยุดเว้นและเดี๋ยวนี้เด็ก4ขวบก็สามารถรำได้แล้ว บรรยากาศการฝึกซ้อมในทุกๆวันมีความสนุกสนานมากโดยไม่เพียงแต่เด็กๆเข้าเรียนเท่านั้นหากผู้ใหญ่ก็มารวมตัวกันเพื่อสังสรรค์และมีความภาคภูมิใจเมื่อเห็นชนรุ่นใหม่ตั้งใจเรียน บางทีก็ให้กำลังใจกันด้วยคำติชมง่ายๆว่า น้องยิวมีท่ารำที่ออ่นหวาน น้องลินรำเก่งมาก ซึ่งเพียงแค่นี้ก็ทำให้เด็กๆรู้สึกดีใจและขยันมากขึ้น นาง อาลังเดอเล ชาวบ้านเบอห่งเผยว่า เมื่อเห็นเด็กๆฝึกรำตุงตุงยาย้าเธอก็หวนคิดถึงสมัยที่เป็นสาวที่เธอกับเพื่อนๆก็หัดรำตุงตุงยาย้าดิฉันก็รู้จักท่ารำนี้ดีแต่ไม่สามารถถ่ายทอดให้เด็กได้ เมื่อเห็นคุณเซียกสอนเราก็ดีใจ แม้จะไม่สามารถช่วยอะไรได้แต่เราก็มาให้กำลังใจเด็กทุกวัน วัฒนธรรมของชนเผ่าก็ต้องร่วมกันรักษาและชาวเกอตูทุกคนต้องรู้จักรำตุงตุงยาย้า
ชาวเกอตูร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน - ảnh 2
บรรยากาศการฝึกซ้อมในทุกๆวันมีความสนุกสนานมาก
เป็นเวลากว่า2ปีแล้วที่ศิลปีน บลิงแหง อยู่ต.ซวย อ.นามยาง ได้เปิดห้องเรียนสอนตีฆ้องให้แก่ชาวบ้านโดยมีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เขาเผยว่าปกติแล้วผู้ใหญ่จะรู้จักการตีฆ้องแต่ชนรุ่นใหม่ยังไม่รู้ ผมจึงเปิดห้องเรียนตั้งแต่ปี2010เพราะกลัวว่าจะไม่มีใครสานต่อศิลปะพื้นบ้านนี้ในอนาคต สำหรับเด็กนักเรียนจะเรียนในช่วงปิดเทอมหน้าร้อน ส่วนเด็กที่เล็กกว่านี้ต้องใช้เวลานานกว่าบางทีเป็นเดือนเพื่อให้พวกเขาเข้าใจ ความมุ่งมั่นและการทุ่มเทแรงกายแรงใจของศิลปีนบลิงแหงก็ได้รับผลตอบแทนโดยจำนวนเด็กที่สนใจมาเรียนนับวันเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างคุณ เยอเซิมมุย นักศึกษาปีที่4 มหาวิทยาลัยวัฒนธรรมนครโฮจิมินห์เพิ่งได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นศิลปินรุ่นเยาว์เพราะได้มีส่วนร่วมมากมายในการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวเกอตู แม้จะต้องยุ่งอยู่กับการเรียนไกลบ้านแต่เขายังให้เวลาร่วมกับศิลปีนอาวุโสเข้าร่วมกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆของจ.กว๋างนามผมร่วมกับลุงแหงไปรณรงค์ให้เด็กไปเรียนดนตรี ผมเองก็ชอบศึกษาด้านวัฒนธรรมจึงตั้งใจในการจัดตั้งคณะนาฎศิลป์เพื่อพัฒนาวัฒนธรรมพื้นบ้านโดยปัจจุบันนี้คณะของเรามีสมาชิก34คนแล้ว แม้สมาชิกทุกคนยังมีฐานะที่ยากจนและบ้านอยู่ไกลกันแต่เด็กทุกคนก็ขยันเรียนมากๆ
ชาวเกอตูร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน - ảnh 3
ศิลปินรุ่นเยาว์ เยอเซิมมุย
  ถึงแม้จำนวนเยาวชนที่สนใจการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมพื้นบ้านอย่างนักศึกษาเยอเซิมมุย ยังมีไม่มากแต่ศิลปีนบลิงแหงก็สามารถสบายใจได้บ้างเพราะเขาได้มีผู้สานต่อภารกิจที่สำคัญนี้แล้ว ซึ่งเขาเผยว่าการจุดประกายความหลงไหลในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของชนเผ่ามิใช่งานที่จะทำเสร็จภายในวันสองวันได้ ดังนั้นคนอย่างเขาก็ต้องยืนหยัดเป้าหมายนี้ต่อไปเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ชนรุ่นใหม่และช่วยปลูกฝังจิตสำนึกในการรักวัฒนธรรมรักศิลปะเพื่อให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเกอตูเหมือนต้นไม้โบราณที่แผ่ร่มเงาอย่างกว้างขวางและปักหลักอย่างมั่นคงบนผืนดินแห่งเทือกเขาเจื่องเซินไปตลอดกาล./.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด