ประเพณีการเรียกสินสอดทองหมั้นของชนเผ่าไต

(VOVworld)-สำหรับทุกชนเผ่าในเวียดนาม หนึ่งในประเพณีที่ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือการแต่งงานมีครอบครัว ดังนั้นต้องมีขั้นตอนหลายอย่างเพื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และเป็นโอกาสให้ฝ่ายชายแสดงให้ฝ่ายหญิงได้เห็นถึงความรักความจริงใจในการที่จะนำความสุขและชีวิตที่มั่นคงมาให้แก่ภรรยาของตน ดังนั้นค่าใช้จ่ายทุกอย่างฝ่ายชายจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนฝ่ายหญิงก็แค่สนับสนุนตามความสมัครใจเท่านั้น


(VOVworld)-สำหรับทุกชนเผ่าในเวียดนาม หนึ่งในประเพณีที่ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือการแต่งงานมีครอบครัว ดังนั้นต้องมีขั้นตอนหลายอย่างเพื่อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และเป็นโอกาสให้ฝ่ายชายแสดงให้ฝ่ายหญิงได้เห็นถึงความรักความจริงใจในการที่จะนำความสุขและชีวิตที่มั่นคงมาให้แก่ภรรยาของตน ดังนั้นค่าใช้จ่ายทุกอย่างฝ่ายชายจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนฝ่ายหญิงก็แค่สนับสนุนตามความสมัครใจเท่านั้น

ประเพณีการเรียกสินสอดทองหมั้นของชนเผ่าไต - ảnh 1
ขนวนขันหมาก(internet)

ในสมัยก่อนตามหมู่บ้านต่างๆของชนเผ่าไต การแต่งงานมักจะเป็นไปตามการตัดสินใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายชายหญิงโดยหนุ่มสาวไม่ได้มีโอกาสพบปะกันเพื่อดูว่าถูกใจกันหรือเปล่า แต่เดี๋ยวนี้การที่หญิงชายจะอยู่ร่วมกันเป็นฝั่งเป็นฝาก็ขึ้นอยู่กับความรักของทั้งสองฝ่ายและเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมตัวแทนของฝ่ายชายจะมาขอลูกสาวบ้านเขามาให้แก่ลูกชายของครอบครัวพร้อมถามถึงเรื่องวันเวลาเดือนปีเกิดของฝ่ายหญิงเพื่อไปดูดวงสมพงษ์เนื้อคู่ว่าจะเหมาะสมกันหรือเปล่าและชีวิตจะมีความสุขกันหรือเปล่า หลังจากนั้นถ้าหากดวงของคู่รักนั้นเข้ากันดีฝ่ายชายจะเลือกวันที่ฤกษ์งามเพื่อส่งพ่อสื่อพร้อมผู้สูงอายุในครอบครัวนำสิ่งของไปที่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อทาบทามสู่ขอ ส่วนฝ่ายหญิงจะเชิญผู้ที่มีบทบาทสำคัญในครอบครัวมาร่วมพบปะเพื่อหารือเรื่องการเรียกสินสอดทองหมั้น ซึ่งตามการบอกเล่าของนาย ก๊วกฮวิง ชาวไตที่อ.จ่างดิ๋ง จังหวัดหลางเซิน ฝ่ายชายต้องเตรียมข้าวของเงินทองค่อนข้างเยอะสำหรับงานแต่งงาน เช่นเนื้อหมู400กิโลกรัม ขนมใหญ่ทำจากข้าวเหนียว ไก่ตอน เหล้าและเงิน “งานเลี้ยงในวันหมั้นต้องมีอย่างน้อย3โต๊ะถ้าฝ่ายหญิงมีญาติพี่น้องเยอะก็ต้องจัดถึง10โต๊ะโอกาสนี้สองฝ่ายจะร่วมหรือกันว่าจะเรียกสินสอดอะไรบ้าง เงินเท่าไหร่และเรื่องวันจัดงาน เช่นข้าวสารกี่กิโล เนื้อหมูกี่กิโล ขนมเท่าไหร่ เหล้าเท่าไหร่ ไก่กี่ตัว ซึ่งสมัยนี้จะคิดเป็นเงินประมาณ30ล้านด่งหรือประมาณ5หมื่นบาท”

นายฮวิงยังเผยว่า อาหารทุกอย่างในงานหมั้นต้องใช้เนื้อหมูดังนั้นฝ่ายชายต้องเตรียมเนื้อหมูให้ครบอย่างน้อย100กิโล “สำหรับเนื้อหมูที่ใช้เพื่อทำอาหารนั้นห้ามขาดเพราะการทำอาหารเลี้ยงแขกนั้นจะมีกี่อย่างและจำนวนเนื้อที่จะใช้เท่าไหร่พวกเขาจะคิดละเอียดมาก  นอกจากนั้นในวันจัดงานก็ต้องมีหมูหัน1ตัวในขบวนโดยไม่รวมอยู่ในสินสอด”

ประเพณีการเรียกสินสอดทองหมั้นของชนเผ่าไต - ảnh 2
ข้าวเหนียว อาหารอย่างหนึ่งในงานเลี้ยง
ส่วนตามความเห็นของนาง หว่างเฟืองแองที่ต.มายฟา เมืองหลางเซิน การเตรียมสิ่งของให้ครบเพื่องานแต่งงานนั้นถือเป็นมาตรฐานเพื่อดูว่าฝ่ายชายมีความจริงใจแค่ไหนและให้ความสำคัญต่อฝ่ายหญิงแค่ไหน ถ้าตกลงแล้วแต่เอามาไม่ครบหรือขาดนิดเดียวก็จะถูกญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงของฝ่ายหญิงตำหนิ

เนื่องจากประเพณีในการเรียกสินสอดทองหมั้นที่ต้องปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดดังนั้นใช่ว่าทุกบ้านที่มีลูกชายถึงวัยแต่งงานจะสามารถเตรียมให้ครบได้ในทีเดียวโดยเฉพาะเนื้อหมูจนบางครอบครัวได้มีวิธีการเตรียมคือฝากสุกร“สมัยก่อนชีวิตยังลำบากอยู่ไม่มีอะไรที่จะเลี้ยงหมู อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูหลักๆก็เป็นต้นมันเทศหรือต้นกล้วยที่หั่นเป็นเส้นแล้วเอาไปต้มน้ำเท่านั้นและหมูตัวหนึ่งที่เลี้ยงประมาณ1ปีก็ได้แค่50-60กิโลกรัมก็ถือว่าโตเร็วแล้ว ดังนั้นจึงมีการคิดวิธีฝากสุกรให้บ้านอื่นช่วยเลี้ยงหมูไว้โดยบ้านไหนที่มีลูกชายจะแต่งงานก็จะไปขอความช่วยเหลือจากหลายบ้านให้ช่วยเลี้ยงหมูหนึ่งตัวเพื่อที่จะมาเอาตามวันเวลาที่กำหนดไว้”

ปัจจุบัน ประเพณีการฝากเลี้ยงสุกรเพื่อเตรียมงานแต่งงานของชาวไตในจังหวัดหลางเซินนั้นไม่มีแล้วเพราะการเรียกสินสอดนั้นก็ได้เป็นไปตามเงื่อนไขและสถานะของฝ่ายชายและยังได้รับการช่วยเหลือจากชาวบ้านอย่างเต็มใจอีกด้วย โดยพวกเขาถือว่าการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมนั้นเป็นหน้าที่ของทุกคนและการช่วยเหลือจุนเจือกันก็เป็นอีกหนึ่งประเพณีวัฒนธรรมที่งดงามที่ควรอนุรักษ์เพื่อชีวิตที่สันติสุขในอนาคต./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด