เครื่องดนตรีและชุดแต่งกายของชนเผ่าเบรา
Tô Tuấn/VOV5 -  
(VOVworld)- แม้จะอาศัยร่วมกันในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนศูนย์รวมแห่งวัฒนธรรมที่หลากหลายของหลายชนเผ่า แต่ชนเผ่าเบราก็ยังคงมีประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองซึ่งสะท้อนให้เห็นจากทั้งชุดแต่งกายและเครื่องดนตรีที่ใช้ในงานสำคัญต่างๆ
(VOVworld)- แม้จะอาศัยร่วมกันในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนศูนย์รวมแห่งวัฒนธรรมที่หลากหลายของหลายชนเผ่า แต่ชนเผ่าเบราก็ยังคงมีประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองซึ่งสะท้อนให้เห็นจากทั้งชุดแต่งกายและเครื่องดนตรีที่ใช้ในงานสำคัญต่างๆ
|
จากการพัฒนาของสังคมและยุคสมัยชุดแต่งกายของชนเผ่าเบราก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะเอาไว้อย่างสมบูรณ์ (vanhoadantoc.edu.vn)
|
ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนชุดแต่งกายของชนเผ่าเบราล้วนเป็นผลงานการสร้างสรรค์และฝีมือของชาวเบราที่สืบทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งตอนเริ่มแรกการออกแบบเสื้อผ้าก็เพื่อการปกปิด ปกป้องร่างกายและสะดวกต่อการทำนาทำไร่จึงมีความเรียบง่าย โดยมักจะใช้เปลือกไม้เป็นวัสถุทอผ้า ตามประเพณีผู้ชายชนเผ่าเบราไม่ใส่เสื้อโดยจะนุ่งแต่โค้(Khố)ที่คล้ายๆผ้าเตี่ยวส่วนผู้หญิงใส่ผ้าถุง จากการพัฒนาของสังคมและยุคสมัยชุดแต่งกายของชนเผ่าเบราก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแต่ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะเอาไว้อย่างสมบูรณ์ ผู้ชายใส่เสื้อทรงสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลายที่ละเอียดและสวยงามเหมือนเสื้อของผู้หญิง นายเหงวียนฟอง ทำการศึกษาวิจัยเรื่องชุดแต่งกายของพี่น้องชนกลุ่มน้อยในเตยเงวียนมานานปีเผยว่าลวดลายบนชุดของผู้ชายกับผู้หญิงไม่เหมือนกัน ซึ่งสำหรับผู้ชายมักจะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งส่วนผู้หญิงมักจะเป็นลายดอกสะท้อนให้เห็นความละเอียดอ่อนนอกจากนี้ยังมีการเสริมเครื่องประดับให้เสื้อมีความสวยงามขึ้น
จุดเด่นของชุดแต่งกายชนเผ่าเบราได้สะท้อนให้เห็นจากเครื่องประดับที่อาจจะทำจากโลหะ งาช้างหรือขนนก โดยสตรีชนเผ่าเบราชอบใส่กำไลข้อมือข้อเท้าเพราะถือว่ายิ่งใส่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีคนมาชอบมากๆ หลายคนยังใส่กำไลข้อเท้าที่มีกระพรวนเล็กๆ2ข้างซึ่งเมื่อเดินไปเดินมาจะมีเสียงดังสดใสกังวาน ปัจจุบันจากการพัฒนาของยุคสมัยและชนเผ่าเบราก็ได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆแต่การอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชุดแต่งกายยังคงได้รับการส่งเสริมต่อไป
|
ฆ้องเจียงทาจะได้บรรเลงในงานเทศกาลต่างๆ (vanhoadantoc.edu.vn)
|
หากชุดแต่งกายได้สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่สามารถจับต้องได้และเป็นสัญลักษณ์ในการแยกแยะกันว่านี่ชนเผ่าอะไร เครื่องดนตรีของแต่ละชนเผ่าถือเป็นสัญลักษณ์วัฒนธรรมทางด้านจิตวิญญาณที่ไม่อาจขาดได้ของแต่ละชนเผ่า สำหรับชนเผ่าเบรา เครื่องดนตรีประจำคือฆ้อง พิณ ตรึง พิณโกลงปุต พิณติงนิน พิณกอง แคนและขลุ่ย ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ทั่วไปเช่น กระบอกใผ่ หิน หรือโลหะ โดยเครื่องดนตรีแต่ละชนิดจะใช้ในกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนกัน บางอย่างใช้เล่นในงานเทศกาล บางอย่างเล่นในงานมงคล งานศาสนา หรือเพื่อไล่สัตว์ป่า เป็นต้น ซึ่งในจำนวนเครื่องดนตรีเหล่านี้ ฆ้องเจียงทาถือเป็นสมบัติของชนเผ่าเบราที่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงชุดเดียวซึ่งกำลังได้รับการรักษาในหมู่บ้านดั๊กเม้ ต.เบ่ออี อ.หงอกโห่ย จ.กอนตุม นาย ลิวแองหุ่ง รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนาม ซึ่งมีประสบการณ์ในการศึกษาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเวียดนามได้เผยว่าฆ้องเจียงทา ของชาวเบราเป็นฆ้องคู่ที่ถือเป็นสมบัติที่มีค่าและไม่มีวันสูญสลายทางจิตวิญญาณ เพราะตามความเชื่อของชนเผ่าต่างๆในเตยเงวียน ทุกอย่างต่างมีชีวิตและมีวิญญาณ
|
ฆ้องเจียงทาถือเป็นสมบัติของชนเผ่าเบราที่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงชุดเดียว(vanhoadantoc.edu.vn)
|
ฆ้องเจียงทามีสองใบ ใบใหญ่เรียกว่า เจอเลียง(Jơ Liêng)หรือฆ้องผู้ ส่วนใบเล็กเรียกว่า จูอาร์(Chuar)หรือเป็นฆ้องเมีย การบรรเลงฆ้องก็แตกต่างกับการเล่นปกติทั่วไปคือถือฆ้องและเดินเป็นวงกลม โดยฆ้องเจียงทาถูกแขวนบนโครงและใช้คนบรรเลงฆ้อง2คน ฆ้องเจียงทา เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้ในงานเทศกาลต่างๆและมีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่มีสิทธิ์ตีฆ้องเจียงทาเพราะชาวเบราเชื่อว่าฆ้องเจียงทามิใช่เป็นเครื่องดนตรีธรรมดาหากเป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์และของบรรพบุรุษ ดังนั้นในภาษาพูดของชาวเบราจึงไม่ใช้คำว่าตีฆ้องหากต้องใช้คำว่าเชิญ เจียงทา เป็นปัจจัยสำคัญในการเชื่อมโลกของมนุษย์กับโลกของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเสียงฆ้องกังวาลขึ้นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกจะรับทราบและดลบันดาลให้ชาวบ้านทุกคนมีชีวิตที่อิ่มหนำผาสุก คลาดแคล้วจากภัยทั้งปวงและมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้นฆ้องเจียงทาจะได้บรรเลงในงานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองการเก็บเกี่ยวได้ผลดีและงานมงคลต่างๆ./.
Tô Tuấn/VOV5