ร่วมกันบรรเทาความปวดร้าวให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน

(VOVworld) –  ความสูญเสียและความปวดร้าวจากสงครามได้ทุเลาลงบ้างตามกาลเวลาแต่ยังคงมีผู้เคราะห์ร้ายเวียดนามนับล้านคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจเพราะผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน   .....

(VOVworld) –  ความสูญเสียและความปวดร้าวจากสงครามได้ทุเลาลงบ้างตามกาลเวลาแต่ยังคงมีผู้เคราะห์ร้ายเวียดนามนับล้านคนที่ต้องทนทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจเพราะผลร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน   จากความเห็นอกเห็นใจต่อความปวดร้าวจากสงคราม องค์กรและบุคคลทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากได้ช่วยให้ผู้เคราะห์ร้ายมีความมุ่งมั่นเพื่อเอาชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง และบทความในวันนี้จะขอแนะนำตัวอย่างผู้ที่มีใจกุศลอันดีงามเหล่านี้

ร่วมกันบรรเทาความปวดร้าวให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน - ảnh 1
ผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซิน(Photo:damcam)

ตอนอายุ๑๗ปี คุณเลืองถิเทิน(ซึ่งเป็นชื่อจริงสมัยเป็นฆราวาสของภิกษุณีทิกด่ามเทิน เจ้าอาวาสวัดดงอาม จังหวัดท้ายบิ่ง) ได้สมัครเข้าเป็นทหารเสนารักษ์ประจำจังหวัดกว๋างบิ่งและนครกวีเญิน จังหวัดบิ่งดิ๋ง โดยภายหลังปฏิบัติหน้าที่ท่ามกลางห่ากระสุนและระเบิดและความเป็นและความตายเกือบ๑๐ปีและได้รับบาดเจ็บสาหัส๒ครั้ง คุณเลืองถิเทินได้ปลดประจำการทหารเพราะล้มป่วยเนื่องจากถูกผลกระทบจากสารพิษที่กองทัพสหรัฐได้โปรยลงในเวียดนามในสมัยสงคราม ซึ่งภิกษุณีทิกด่ามเทินไม่เพียงแต่เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ที่เปิดโปงโทษกรรมสงครามเท่านั้นหากยังมีส่วนร่วมช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายคนอื่นๆพยายามเพื่อเอาชนะต่ออุปสรรคทั้งปวงอีกด้วย ปัจจุบัน วัดดงอามได้กลายเป็นที่พักพิงของผู้อาภัพอับโชคจำนวนมาก รวมทั้งยังให้ความดูแลเอาใจใส่ เยี่ยมเยือนและมอบของขวัญให้แก่ครอบครัวที่มีบุตรที่เป็นผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้ม โดยเงินส่วนหนึ่งที่ใช้ทำกิจกรรมการกุศลมาจากการขายธูปที่ทางวัดทำเอง พิกษุณีทิกด่ามเทินมีความประสงค์ว่า ทุกคนในสังคมจะดูแลเอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเนื่องจากสงคราม“สารพิษสีส้มเป็นสารพิษที่รุนแรงมาก อาตมาได้พยายามต่อสู้กับโรคร้าย แต่ต่อสู้เพียงลำพังไม่ได้จึงต้องอาศัยญาติมิตร ในหลายปีที่ผ่านมา  อาตมารู้ซึ้งถึงผลร้ายจากสงคราม เมื่อตอนป่วยอัมพาตก็ต้องหัดเดินเอง ดังนั้น อาตมาจึงมีความประสงค์ว่า บรรดาผู้เคราะห์ร้ายจะต้องมีความมุ่งมั่นเพื่อเอาชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง และทุกคนควรเข้าใจความปวดร้าวของประชาชาติและร่วมแบ่งเบาช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย
 นายเฉิ่นกงบิ่ง ผู้บริหารซูเปอร์มาเก็ตแห่งหนึ่งในนครดานังซึ่งเป็นผู้ที่มีใจกุศลกล่าวว่า เขารู้สึกสงสารผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากที่แม้มีอายุ๒๐ปีแล้วแต่กลับมีพัฒนาการที่เหมือนเด็กอายุ๓ขวบที่ไร้เดียงสาดังนั้นนอกจากเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลเขายังรณรงค์คนอื่นๆเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลด้วย ปัจจุบัน ครอบครัวเขากับบริษัทกำลังเป็นผู้อุปถัมภ์ผู้เคราะห์ร้าย๑๐๐คนและคนตาบอด๘๐คน แม้ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยากลำบากแต่เขาก็ยังคงมีความตั้งใจที่จะทำกิจกรรมการกุศลให้มากยิ่งขึ้น “ผมรู้สึกดีใจมากเมื่อเห็นว่า ปัจจุบันมีคนเข้าร่วมแบ่งเบาความปวดร้าวของผู้เคราะห์ร้ายมากขึ้นแต่ แม้จะทำกิจกรรมกุศลมากเท่าไหร่ แต่ความปวดร้าวก็ยังมีอยู่ ดังนั้น พวกเราต้องพยายามต่อไปเพื่อให้ครอบครัวผู้เคราะห์ร้ายรู้สึกว่า ไม่ได้อยู่อย่างเดียวดาย พวกเขาได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนอยู่เสมอ แม้ในสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดี ผมยังคงทำกิจกรรมการกุศล ทุกคนในบริษัทเห็นพ้องกันว่า จะไม่จัดงานเลี้ยงเพื่อรนำเงินส่วนนั้นไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม”  
พลโทเหงวียนวันริง นายกสมาคมผู้เคราะห์ร้ายจากสารพิษสีส้มไดอ๊อกซินเวียดนามกล่าวว่า ในเวลาที่ผ่านมา พรรคและรัฐเวียดนามได้มีนโยบายช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย ทุกปี รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ๑ล้านล้านด่งเพื่อแก้ไขผลเสียหายจากสงครามพร้อมกับเงินบริจาคนับแสนล้านด่งจากประชาชนและผู้ที่มีใจกุศล คณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับผลเสียหายของสงครามเคมีได้รับการจัดตั้งโดยได้ก่อสร้างศูนย์วิจัย รักษาโรคและรับอุปการะผู้เคราะห์ร้าย พร้อมทั้งจัดสรรงบเพื่อทำการศัลยกรรมตกแต่งให้แก่เด็กพิการ ให้ความช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายและบุตรของพวกเขาที่เป็นเด็กพิการและไม่สมประกอบตั้งแต่แรกเกิดเป็นประจำ พลโทเหงวียนวันริง กล่าวว่า“ผมรู้สึกตื้นตันใจต่อความช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายจากองค์กรและบุคคลทั้งในและต่างประเทศ หวังว่า ผู้เคราะห์ร้ายจะได้รับความดูแลเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น  พรรคและรัฐจะชี้นำปฏิบัติเรื่องนี้อย่างเป็นระบบโดยมีการประสานงานระหว่างกระทรวง หน่วยงาน และองค์การสังคมต่างๆ การร่วมกันบรรเทาความปวดร้าวให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจะช่วยให้พวกเขาสามารถยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงและสามารถปรับตัวเข้ากับชุมชนได้”
แม้สงครามจะผ่านพ้นไปแล้ว๓๘ปี แต่ความปวดร้าวจากสารพิษสีส้มไม่จางหายไป  และยังคงมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากสารพิษสีส้มนับหมื่นคน รวมทั้งผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาณทั้งร่างกายและจิตใจนับล้านคน ดังนั้น ทุกคนในสังคมจำเป็นต้องช่วยเหลือพวกเขาซึ่งเป็นเสียงเรียกจากชีวิต มโนธรรมและความเป็นธรรม./.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด