การอนุรักษ์อาชีพช่างไม้โบราณในภาคใต้
Trần Thanh Phê; Vĩnh Phong -  
(VOVWORLD) - นับตั้งแต่อดีต อาชีพช่างไม้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้สูงให้แก่ประชาชนหลายคนใในเขตตะวันตกภาคใต้ แม้ว่าอาชีพนี้จะต้องใช้ทักษะฝีมือ ต้องมีความพิถีพิถันและผ่านความผันผวนของกาลเวลาทางประวัติศาสตร์ แต่ช่างไม้ที่นี่ยังคงมุ่งมั่นอนุรักษ์อาชีพเอาไว้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อมีส่วนร่วมสร้างแรงบันดาลใจและสืบทอดอาชีพนี้ให้แก่คนรุ่นหลัง
การอนุรักษ์อาชีพช่างไม้โบราณในภาคใต้ (baoangiang.com.vn) |
เสียงเลื่อยมือ เลื่อยไฟฟ้า กบไสไม้และสิ่วแกะสลักไม้เป็นสิ่งที่มีความผูกพันกับชาวบ้านในหมู่บ้านช่างไม้ในเขตตะวันตกภาคใต้มาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ความขยันหมั่นเพียร ความชำนาญและความหลงใหลในการประกอบอาชีพช่างไม้ที่บรรพบุรุษได้ทิ้งไว้ได้ช่วยให้ช่างไม้สามารถเปลี่ยนท่อนไม้เป็นโต๊ะ เก้าอี้และเรือ ซึ่งช่วยเพิ่มความหลากหลายให้แก่สิ่งของในบ้านของชาวสวนในเขตตะวันตก ผู้สูงอายุหลายคนเผยว่า อาชีพช่างไม้เป็นอาชีพเก่าแก่และพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ ป่าไม้ในภาคใต้ในสมัยนั้นมีต้นไม้ที่มีค่ามากมาย เช่น ไม้พะยูงและไม้ชิงชัน ซึ่งนำมาใช้ผลิตของใช้ในครัวเรือน เช่น หิ้งบูชา เตียง โต๊ะและเก้าอี้ ส่วนไม้ที่มีคุณภาพดีชนิดอื่นๆใช้เพื่อทำเสาบ้านและเรือซึ่งสามารถพบเห็นได้ทุกที่ ช่างไม้ฝีมือดีมักจะอยู่อาศัยในจังหวัดต่างๆในภาคกลางและภาคเหนือ พวกเขาอพยพไปยังภาคใต้เพื่อสร้างฐานะ เผยแพร่อาชีพช่างไม้และก่อตั้งเขตชุมชนช่างไม้ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในนครโฮจิมินห์ เช่น ล้านเทียว ถูโหย่วหมดในจังหวัดบิ่งเยือง
หนึ่งในสถานที่ที่มีชื่อเสียงด้วยอาชีพช่างไม้คือหมู่บ้านช่างไม้เจาะถูในตำบลลองเดี่ยนเอ อำเภอเจาะเหมอย จังหวัดอานยาง ซึ่งได้รับการขานนามว่า เป็น“หมู่บ้านช่างไม้และแกะสลักไม้อันดับ 1 ในเขตตะวันตกภาคใต้” หมู่บ้านช่างไม้เจาะถูก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1892 ผ่านความผันผวนของกาลเวลา ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านฯได้รับการพัฒนาและมีความหลากหลายตั้งแต่เครื่องใช้ในครัวเรือนไปจนถึงผลิตภัณฑ์แกะสลักวิจิตรศิลป์เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว มีชื่อเสียงด้วยผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น หิ้งบูชา ตู้เสื้อผ้า โต๊ะและเก้าอี้ เมื่อปี 2006 หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการรับรองเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพโดยคณะกรรมการประชาชนจังหวัดฯ ที่มีโรงงานกว่า 1,000 แห่งและแรงงานประมาณ 2,000 คน จากแหล่งกำเนิดแห่งนี้ ช่างไม้ได้พัฒนาอาชีพไปสู่ตำบลใกล้เคียง 4 แห่งในอำเภอเจาะเหมอย นาย เจิ่นมิงดว่าน ในอำเภอเจาะเหมอย จังหวัดอานยางเผยว่า เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านเจาะถูคือความซับซ้อนผสานกับความงามแบบดั้งเดิมและไม่ใช้เครื่องจักรในการแกะสลักมากเกินไป เพราะช่างไม้เชื่อว่า แม้กระทั่งเครื่องจักรมีความแม่นยำแค่ไหน ก็ไม่ดีเท่ากับฝีมือของช่างไม้
“ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ที่เจาะเหมอยมีหมู่บ้านช่างไม้ 5 แห่ง ปัจจุบัน การค้าขายมีความหลากหลายไม่เหมือนเมื่อก่อน โรงงานมีสถานที่รับซื้อและจำหน่ายในต่างจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ผมประกอบอาชีพนี้เป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว มีโรงงานอื่น ๆ อีกมากมายที่สานต่ออาชีพที่บรรพบุรุษได้ทิ้งไว้ พวกเขาประกอบอาชีพนี้น่าจะนานกว่าผม พวกเขายังผลิตเครื่องตกแต่งในครัวเรือหลายชนิดตามใบสั่งซื้อของลูกค้า”
หมู่บ้านศิลปาชีพอีกแห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงในเขตตะวันตกภาคใต้คือหมู่บ้านศิลปาชีพต่อเรือ บ่าดานในตำบลลองโห่ว อำเภอลายวุง จังหวัดด่งทาป จนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านมีอายุกว่า 100 ปี และได้รับการรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แห่งชาติเมื่อปี 2015 โดยกระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยว นาย เหงวียนวันต๊ต ช่างไม้ในหมู่บ้านเผยว่า เขาและช่างไม้หลายคนในเขตตะวันตกอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพนี้ไม่เพียงแต่เพื่อสร้างฐานะเท่านั้น หากยังถือว่านี่คือความรับผิดชอบเพื่อไม่ให้อาชีพนี้สูญหายด้วย
“ปู่ย่าตายายเคยบอกว่า “ถึงแม้จะมีที่ดินเยอะ แต่ก็ไม่ดีเท่ากับการมีอาชีพ” ผมเป็นรุ่นที่ 4 ที่ประกอบอาชีพช่างไม้ บรรพบุรุษได้ถ่ายทอดอาชีพนี้ให้จึงต้องมุ่งมั่นอนุรักษ์ให้แก่ลูกหลานต่อไป ต้องมีความรักและมีความหลงใหลในการประกอบอาชีพช่างไม้ มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้”
นาย เหงวียนมิงตว่าน ประกอบอาชีพช่างไม้เป็นเวลาหลายสิบปีในจังหวัดก่าเมาเผยว่า เขาประกอบอาชีพช่างไม้ตั้งแต่ตอนอายุ 14 ปี ด้วยความขยันหมั่นเพียรในการทำความคุ้นเคยกับไม้และการไสไม้ และใช้เวลาประมาณ 8 ปี นาย ตว่าน ก็กลายเป็นช่างไม้ฝีมือดี
“เพื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ ช่างไม้ต้องมีความพิถีพิถัน มีหลายๆคนที่เข้ามาขอเรียน แต่กลับพบว่า ประกอบอาชีพนี้ไม่ได้ เมื่อก่อน ทุกอย่างทำด้วยมือ ร้านเสริมสวยและตู้ทั้งหมดแกะสลักด้วยมือ ไม่ใช้เครื่องจักร ก่อนที่จะมีเครื่องจักร ชุดโต๊ะบิวตี้ซาลอนแกะสลักจะใช้เวลาประมาณครึ่งเดือนหรือมากกว่าครึ่งเดือนถึงจะเสร็จ ขณะนี้ มีเครื่องจักรและสิ่วที่ช่วยทุ่นเวลาสามารถทำให้เสร็จได้ภายในเวลา 2-3 วัน”
ช่างไม้ไม่เพียงแต่มีความหลงใหลในการประกอบอาชีพเท่านั้น หากช่างไม้หลายคนยังมีความประสงค์ที่จะอนุรักษ์ ไม่ให้อาชีพนี้สูญหายไปอีกด้วย ความรักและความหลงใหลในการประกอบอาชีพของช่างไม้ได้ช่วยเปลี่ยนไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน สำหรับช่างไม้หลายๆ คน การอนุรักษ์และการพัฒนาอาชีพก็ถือเป็นความรับผิดชอบเพื่อไม่ให้อาชีพหายไป และอนุรักษ์เอกลักษณ์ของงานช่างไม้ในเขตตะวันตกด้วย.
Trần Thanh Phê; Vĩnh Phong