ประเทศฝรั่งเศสกับจุดเปลี่ยนที่สำคัญในเวทีการเมือง

(VOVWORLD) -วันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมาประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้ยอมรับการลาออกของรัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรี  มิเชล บาร์นิเยร์หลังจากที่สมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อวันก่อน ซึ่งไม่เพียงแต่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงอำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังทำให้ฝรั่งเศสตกเข้าสู่ความสับสนวุ่นวายในขณะที่ประเทศนี้กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์งบประมาณที่รุนแรงและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน
ประเทศฝรั่งเศสกับจุดเปลี่ยนที่สำคัญในเวทีการเมือง - ảnh 1 

การเพิ่มแรงกดดันต่อประธานาธิบดี มาครง

นาย มิเชล บาร์นิเยร์ ถูกกดดันให้พ้นจากตำแหน่งขณะที่เพิ่งรับหน้าที่ผู้นำรัฐบาลได้เพียง 3 เดือน และนี่เป็นครั้งที่ 2 ในรอบครึ่งปีที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีต่อจากการลาออกของนาย กาเบรียล อัตตาล เมื่อเดือนกรกฎาคม โดยมี สส. 331 นาย จาก 577 นายที่ลงมติไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี มิเชล บาร์นิเยร์ ทำให้นี่เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลฝรั่งเศสต้อง‘ล้มเหลว’ ในการลงประชามติไม่ไว้วางใจนับตั้งแต่ปี 1962 และนาย มิเชล บาร์นิเยร์ ก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีเวลาดำรงตำแหน่งสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองฝรั่งเศส
การที่นาย มิเชล บาร์นิเยร์ ต้องพ้นจากตำแหน่งในช่วงปลายปีนี้ได้ทำให้ประธานาธิบดีฝรั่งเศสต้องรับมือแรงกดดันมากขึ้นเพราะต้องแก้ไข 2 ปัญหาใหญ่พร้อมกันคือการอนุมัติงบประมาณก่อนวันที่ 21 ธันวาคมและการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยต้องหาผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้ นาย มาครง ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสสมัยที่ 2ได้ครึ่งวาระแล้วและก็ถือเป็นวาระสุดท้ายของเขา ดังนั้น ผลการลงมติไม่ไว้วางใจครั้งนี้ยิ่งทำให้การบริหารประเทศในช่วงครึ่งหลังของวาระสุดท้ายมีความซับซ้อนมากขึ้นและทำให้อำนาจของเขาลดลงทั้งในประเทศและในต่างประเทศ แถมยังต้องเผชิญกับการเรียกร้องให้ลาออกอีกด้วย แต่ในบทปราศรัยต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ประธานาธิบดีมาครง ได้ยืนยันว่า เขายังจะคงทำหน้าที่ผู้นำฝรั่งเศสจนกว่าจะสิ้นสุดวาระในปี 2027
 “ประชาชนมอบหมายหน้าที่ให้ผมอย่างเป็นประชาธิปไตย และผมก็จะปฏิบัติภารกิจ5ปีนี้อย่างสมบูรณ์จนถึงสิ้นสุดวาระ ด้วยความรับผิดชอบคือการประกัน“ความต่อเนื่องในการทำงานของรัฐ การดำเนินงานอย่างถูกต้องของระบบการเมืองและความเป็นอิสระของประเทศ เพื่อปกป้องพวกคุณทุกคน”
ผลพวงที่ตามมาจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในฝรั่งเศส
รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสไม่ได้กำหนดให้ประธานาธิบดีต้องลาออกถ้าหากรัฐบาลต้องลาออกทั้งคณะจากการถูกลงคะแนนไม่ไว้วางใจจากสภา ในขณะเดียวกันฝรั่งเศสก็ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดได้ทันทีเนื่องจากรัฐสภาชุดปัจจุบันต้องทำหน้าที่จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2025 หรือต้องครบ 1 ปีนับจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
การที่รัฐบาลฝรั่งเศสล่มจะสร้างผลพวงในเชิงลบและส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในยุโรปเพราะฝรั่งเศสเป็นประเทศมหาอำนาจของอียูและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศต่างๆของกลุ่ม เช่น เรื่องสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคง เศรษฐกิจและการแข่งขันทางการค้า  ก่อนหน้านี้ รัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรี โอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ก็ได้ตกเข้าสู่ภาวะเหมือนฝรั่งเศสในขณะนี้ ซึ่งทำให้ต้องประกาศจัดการเลือกตั้งล่วงหน้าในต้นปี2025 เป็นอันว่าปัญหาของทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศสกำลังทำให้อนาคตของพันธมิตรนี้ต้องรับมือความท้าทายมากมายเพราะอียูยังคงต้องหาคำตอบให้แก่สองปัญหาที่มีลักษณะชี้ขาดคือการปิดฉากการปะทะในยูเครนและการรับมือกับการกลับมาบริหารประเทศของทางการว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์
ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองของฝรั่งเศสจะบานปลายไปยังประเทศอื่นๆในเขตยูโรโซน โดยสะท้อนให้เห็นจากการที่เงินยูโรอ่อนค่าลง 0.5%เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหลังรัฐบาลฝรั่งเศสล่ม และค่าเงินยูโรก็อาจลดลงอีกเนื่องจากความไม่มั่นคงทางการเมืองในเยอรมนีด้วย ส่วนตลาดการเงินในเขตยูโรโซนก็กำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น เมื่อนักลงทุนต่างชาติกำลังจะเปลี่ยนความสนใจไปสู่ตลาดที่ปลอดภัยกว่าอย่างสหรัฐกับนโยบาย “อเมริกาต้องมาก่อน (America First)"ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์./.

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด