English Vietnamese Chinese French German Indonesian Japanese Khmer Korean Laotian Russian Spanish Thai

21°C - 31°C

ประเทศต่างๆพยายามเจรจาเพื่อลดผลกระทบจากการเก็บภาษีต่างตอบแทนของสหรัฐ

(VOVWORLD) -อัตราภาษีต่างตอบแทนที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศเมื่อวันที่ 2 เมษายนต่อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศต่างๆจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 9 เมษายนตามเวลาสหรัฐ ในสภาวการณ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่การเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ประเทศต่างๆกำลังพยายามทำการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงกับสหรัฐ

ตามการตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนเป็นต้นไป สหรัฐจะเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐานร้อยละ 10 ต่อสินค้าทั้งหมดที่เข้าสู่สหรัฐ นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน จะเก็บภาษี “ต่างตอบแทน” ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงกว่าร้อยละ 50 ต่อทุกหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

ความพยายามทำการเจรจาที่มีความยากลำบาก

นับตั้งแต่ที่ได้รับการประกาศเมื่อวันที่ 2 เมษายน นโยบายการเก็บภาษีใหม่ของสหรัฐได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินโลก โดยมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างๆในโลก รวมทั้งสหรัฐอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมาและมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดลดลงกว่า  10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากบรรดานักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า ในขณะที่องค์กรการเงินระหว่างประเทศต่างๆได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในปีนี้ ซึ่งในสภาวการณ์นี้ ประเทศต่างๆได้แสดงความประสงค์ที่จะเจรจากับทางการสหรัฐเพื่อลดผลกระทบจากนโยบายภาษีใหม่ของสหรัฐผ่านการลงนามข้อตกลงการค้าฉบับใหม่ นาย Jamieson Greer ผู้แทนการค้าสหรัฐได้เผยว่า จนถึงวันที่ 8 เมษายน มีประมาณ 70 ประเทศและดินแดนแสดงความประสงค์ที่จะทำการเจรจากับสหรัฐเกี่ยวกับปัญหาด้านภาษี ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ก็ได้ “เปิดไฟเขียว”โดยเผยว่า พร้อมทำการเจรจาอย่างเปิดเผยแม้ยังยืนยันว่า สหรัฐจะยังคงธำรงการเก็บภาษีในอัตราใหม่

การเจรจากับสหรัฐเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจของหลายประเทศและพันธมิตรต่างๆ ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นเผยว่า จะทำการเจรจาระดับรัฐมนตรีกับสหรัฐในสัปดาห์นี้ นาย ชิเงรุ อิชิบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเผยว่า พร้อมเดินทางไปยังสหรัฐเพื่อพบปะกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์  ส่วนเมื่อวันที่ 8 เมษายน นาย Cheong In Kyo  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐเกาหลีได้เดินทางไปยังกรุงวอชิงตันเพื่อหารือกับหุ้นส่วนต่างๆของสหรัฐ ส่วนสำหรับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกสหรัฐเก็บภาษีในระดับสูง การเจรจาและการสนทนาล้วนเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในช่วงนี้ นาย อันวาร์  อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปี 2025 ได้ประกาศว่า อาเซียนจะร่วมกันเพื่อทำการสนทนากับสหรัฐ 

“การเก็บภาษีนี้อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อทุกฝ่าย ดังนั้น บนพื้นฐานของการทูตที่ประนีประนอมและคำมั่นต่างๆ สิ่งที่ผมบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์กับบรรดาผู้นำอาเซียนคือ พวกเราจะเริ่มทำการสนทนากับสหรัฐ”

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สังเกตการณ์เห็นว่า การเจรจาต่างๆจะไม่ใช่เรื่องง่าย  เพราะเป้าหมายของทางการสหรัฐในการเก็บภาษีต่างตอบแทนคือ แก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าของสหรัฐและฟื้นฟูการผลิตของสหรัฐ ซึ่งสิ่งนี้ต้องใช้เวลานานและยากที่จะปฏิบัติได้ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือประเทศต่างๆต้องเตรียมพร้อมให้แก่การเจรจาและมาตรการสำรองถ้าการเจรจาประสบความล้มเหลว

ความเสี่ยงในระดับสูง

แม้ประเทศต่างๆให้ความสนใจต่อการเจรจากับทางการสหรัฐแต่ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดสงครามการค้าโลกเนื่องจากความซับซ้อนของการเจรจาและความตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งเพื่อตอบโต้การเก็บภาษีใหม่ของสหรัฐต่อสินค้าที่นำเข้าจากจีนที่ร้อยละ 54 เมื่อวันที่ 4 เมษายน จีนได้ตัดสินใจเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐร้อยละ 34  ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า สหรัฐจะเพิ่มภาษีอีกร้อยละ 50 ต่อสินค้าที่นำเข้าจากจีน ฝ่ายจีนเผยว่า ถ้าหากสหรัฐยืนหยัดนโยบายนี้ จีนจะทำการตอบโต้ต่อไป นาย Rintaro Nishimura  ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ Asia Group ให้ข้อสังเกตว่า สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกก็เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงต้นวาระแรกของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ในช่วงปี 2016-2020 ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อการค้าโลก

นอกจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าโลกในระยะสั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะกลาง บรรดาผู้สังเกตการณ์ยังตั้งคำถามเกี่ยวกับเป้าหมายสุดท้ายของนโยบายภาษีใหม่ของทางการสหรัฐ นาง Arancha Gonzalez Laya ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญหาระหว่างประเทศสังกัดสถาบัน Sciences Po Paris เผยว่า ความผันผวนของตลาดโลกในหลายวันที่ผ่านมาถือเป็นคำเตือนว่า นโยบายภาษีของสหรัฐกำลังส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบการเงิน Bretton Woods ที่สร้างขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐเป็นเสาหลัก 

“ต้องรับฟังความปรารถนาของประเทศต่างๆในโลกเพราะมีบทบาทเป็นอย่างมากและต้องคำนึงถึงการค้าและการเงิน แม้สหรัฐจะมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งแต่ก็ไม่ใช่ประเทศเดียวที่ผูกขาดความสำคัญในโลก”

ในหลายวันที่ผ่านมา บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและผู้บริหารเครือบริษัทใหญ่ๆของสหรัฐได้ออกคำเตือนเหมือนกัน ซึ่งนโยบายภาษีใหม่ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐเท่านั้นหากยยังทำให้ลดความน่าเชื่อถือของสหรัฐต่อหุ้นส่วนต่างๆในโลกอีกด้วย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด