(VOVWORLD) -ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปหรืออียูกับสหรัฐกำลังเลวร้ายลงเนื่องจากปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะนโยบายด้านภาษีใหม่ของทางการประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 เมษายนซึ่งทำให้ความขัดแย้งระหว่างสองพันธมิตรที่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ขณะนี้บรรดาผู้นำยุโรปกำลังประเมินพลังและศักยภาพของกลุ่มในการรับมือกับจุดยืนที่เข็งกร้าวของทางการนายโดนัลด์ทรัมป์
นโยบายด้านภาษีศุลกากรและการทหาร
ในบทความที่โพสต์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ Truth Social เมื่อเดือนมีนาคม ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เรียกอียูว่าเป็นหนึ่งในสำนักงานที่เก็บภาษีมากที่สุดในโลกและยังตอกย้ำว่า การจัดตั้งอียูก็เพื่อเป้าหมายเดียวคือใช้ประโยชน์จากสหรัฐ การประกาศดังกล่าวถือเป็นคำเตือล่าสุดว่า สงครามการค้าเพื่อต่อต้านแคนาดา จีนและเม็กซิโกที่ทางการประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เดินหน้านั้นกำลังลุกลามไปยังยุโรปเพราะทางเป็นจริง อัตรา ภาษีร้อยละ 25 สำหรับเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากอียูเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 มีนาคมแล้ว
นอกจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ ทางการประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังมีท่าทีท้าทายอธิปไตยทางดินแดนของยุโรปผ่านการขู่ว่า จะผนวกกรีนแลนด์ของเดนมาร์กเข้าสหรัฐ ซึ่งนาย โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรกที่ประกาศเป้าหมายอยากครอบครองกรีนแลนด์ในการประกาศอย่างเป็นทางการของตนแถมยังย้ำหลายครั้งว่า สหรัฐจะผนวกกรีนแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของตนผ่านทุกวิธีและมีความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเพื่อยึดกรีนแลนด์ไว้ด้วย ซึ่งประเทศพันธมิตรของสหรัฐในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ต่างรู้สึกแปลกใจต่อเรื่องนี้เพราะทั้งเดนมาร์กและสหรัฐต่างเป็นสมาชิกของนาโต้ และ สหรัฐได้ให้คำมั่นว่า จะปกป้องความมั่นคงให้แก่ประเทศพันธมิตร รวมทั้งเดนมาร์กและกรีนแลนด์แต่ตอนนี้สหรัฐกลับมีท่าทีที่ท้าทายและคุกคามต่อความมั่นคง อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของเดนมาร์กและกรีนแลนด์
นอกจากนี้ สหรัฐยังมีท่าทางเพิ่มแรงกดดันต่อผู้ที่สนับสนุนยุโรปเพื่อบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครน พร้อมทั้งถอนคำมั่นด้านความมั่นคงส่วนหนึ่งของสหรัฐในยุโรป โดยได้ใช้วิธีการมุ่งไปที่จุดอ่อนด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมืองและความมั่นคงของยุโรป รวมทั้งมาตรการทางทหารและภาษีเพื่อเป็นเงื่อนไขสำหรับการบรรลุเป้าหมายของตนอันเป็นการยืนยันสถานะและพลังของสหรัฐ
ยุโรปต้องเพิ่มความตระหนักในพลังความแข็งแกร่งภายในโดยเร็ว
ในสภาวการณ์นี้ อียูต้องใช้วิธีใด เพื่อสร้างความสมดุลในความสัมพันธ์กับสหรัฐ และธำรงการเชื่อมโยงกับสหรัฐพร้อมทั้งจะมีการตอบโต้เป็นยังไงก็เป็นคำถามใหญ่สำหรับอียู ซึ่งอียูจะข่มขู่ทำการตอบโต้หรือไม่ หรือจะมีปฏิบัติการอย่างไรถ้าหากนาย โดนัลด์ ทรัมป์ ปฏิบัติคำขู่ของตนจริง ในด้านภาษี แม้แคนาดาและเม็กซิโกได้ปฏิบัติมาตรการทั้งในเชิงป้องปราม ประนีประนอมและให้สิทธิพิเศษต่างๆแต่ยังคงต้องเผชิญกับมาตรการกีดกันด้านภาษีใหม่ไม่น้อย
จากสถานการณ์ดังกล่าว ยุโรปต้องประเมินศักยภาพด้านพลังภายในของตนอีกครั้งและปฏิบัติมาตรการใหม่ เช่น เครื่องมือเพื่อต่อต้านการบังคับใช้หรือ ACI ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนธันวาคมปี 2023 โดยอนุญาตให้คณะกรรมาธิการยุโรปปฏิบัติมาตรการรับมือเมื่อกลไกการแก้ไขปัญหาการพิพาทขององค์การการค้าโลกหรือ WTO ไม่มีผล นอกจากนี้ อียูยังใช้มาตรฐานด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเพื่อเลือกปฏิบัติต่อผลิตภัณฑ์ของสหรัฐ เช่น กลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร ซึ่งประกอบด้วยกฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพของอาหาร ระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ ETS ที่กำหนดการลงทะเบียน การประเมิน การออกใบอนุญาตและจำกัดการใช้สารเคมี ข้อกำหนดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน การจำกัดสิทธิการเข้าถึงตลาดต่อคู่แข่งที่ไม่ใช่จากยุโรปที่ ไม่ตอบสนองมาตรฐานเกี่ยวกับความยั่งยืน
นอกจากด้านภาษีและการค้า อียูอาจใช้กฎหมายด้านการบริการ ลิขสิทธิทางปัญญา เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยี โดยอนุญาตให้อียูเพิ่มความเข้มงวดในการบริหารการใช้ซอฟแวร์และแพลตฟอร์มของสหรัฐ ข้อกำหนดการปกป้องฐานข้อมูลร่วมของอียู ปฏิบัติหลักการปกป้องและสิทธิ์การปกป้องกระบวนการส่งข้อมูล เป็นต้น ควบคู่กันนั้น อียูต้องผลักดันมาตรการช่วยเหลือและปล่อยเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ที่ได้รับผลกระทบจากประเทศต่างๆ พัฒนาแหล่งจัดสรรทดแทนและค้ำประกันห่วงโซ่อุปทาน
ทั้งนี้พลังของยุโรปในยุคใหม่นี้ขึ้นอยู่กับความสามัคคีของกลุ่ม กลายเป็นพลังของหมู่คณะ ซึ่งการเตรียมความพร้อมมาตรการรับมือนโยบายที่ไม่เป็นประโยชน์ของสหรัฐอาจส่งผลในเชิงบวกต่อความมีเสถียรภาพของความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอียูในระยะยาว.